26.10.51

ทะเลหมอกแม่ระเมิง


จุดชมทะเลหมอก จุดชมทะเลหมอกนี้ อยู่หลังที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่เมย มีความสูงประมาณ 1,100 เมตร เป็นจุดที่มองเห็นทะเลหมอกได้กว้างไกลมาก รวมทั้งพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก อีกทั้งเป็นจุดชมวิว ที่ต้อนรับผู้ที่นิยมการเดินป่า เพราะจะต้องเดินเท้าเข้าไปประมาณ 3-4 ชั่วโมง และต้องพักค้างแรม 1 คืน เพื่อชมทิวทัศน์ที่สวยงาม

ม่อนครูบาใส อยู่ใกล้เคียงกับม่อนพูนสุดา ห่างกันประมาณ 200 เมตร สามารถชมทะเลหมอกยามเช้าและชมพระอาทิตย์ตกดินได้ ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่เมย ประมาณ 7 กิโลเมตร

ม่อนกิ่วลม ที่ใช้ชื่อว่า ม่อนกิ่วลม ก็เพราะที่แห่งนี้มีช่องหรือกิ่ว ที่มีลมพัดผ่านอยู่เสมอ เป็นจุดชมดวงอาทิตย์ขึ้น ยามเช้า ที่สวยที่สุด บนเส้นทางสายสายแม่สลิดน้อย-แม่ระเมิง ม่อนกิ่วลมอยู่บนความสูง 940 เมตรจากระดับน้ำทะเล มองเห็นทะเลหมอกปกคลุมหุบเขาเบื้องล่าง โดยมียอดเขาสูงต่างๆ โผล่พันสายหมอก แลดูราวกับเกาะใหญ่น้อย กลางทะเลสีขาว อากาศเย็นสบายตลอดทั้งปี สภาพป่าโดยรอบเป็นป่าดิบเขา เดินทางต่อจากม่อนกระทิง ลัดเลาะไปตามไหล่เขา อีกประมาณ 8 กิโลเมตร จุดชมทิวทัศน์ม่อนกิ่วลม อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแงชาติ ประมาณ 12 กิโลเมตร


ม่อนพูนสุดา เป็นจุดชมทะเลหมอกที่สวยงามมากอีกแห่งหนึ่ง อยู่ห่างจากม่อนกระทิง 2 กิโลเมตร ชื่อม่อนตั้งขึ้นตามชื่อของนักถ่ายภาพชั้นครูของเมืองไทย คือ อาจารย์พูน เกษจำรัส และภรรยาของท่านชื่อ สุดา เพื่อเป็นเกียรติแด่อาจารย์พูน ในฐานะที่เป็นผู้เดินทางมาถ่ายภาพบนหม่อนนี้เป็นคนแรก

ม่อนกระทิง เป็นจุดชมทะเลหมอกที่มีชื่อเสียงมากแห่งหนึ่ง คำว่า “ม่อน” หมายถึง เนินดินหรือเนินเขาเตี้ยๆ ชื่อม่อนกระทิงมีที่มาจากว่าบริเวณนี้เคยมีกระทิงอาศัยอยู่ชุกชุมจนมีพรานป่าขึ้นมาล่าอยู่เสมอๆ เดินทางจากถ้ำแม่อุสุ ต่อไปจนพบกับทางหลวงจังหวัด หมายเลข 1267 สายแม่สลิดหลวง - แม่ระเมิง ให้เลี้ยวขวา ขึ้นสู่ดอยแม่ระเมิง ช่วงนี้เป็นทางขึ้นเขาชัน ระยะทางประมาณ 11 กม. จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ม่อนกระทิงอยู่ห่างออกไปอีกไม่ไกล

น้ำตกป่าหวาย


เป็นน้ำตกหินปูน เกิดจากลำห้วยหวาย มีน้ำไหลตลอดปี มีจำนวนชั้นมากกว่า 100 ชั้น สภาพป่าบริเวณน้ำตกสมบูรณ์มาก มีไม้ตั้งแต่ขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ เนื่องจากพันธุ์ไม้บริเวณน้ำตก มีไม้หวายจำนวนมาก จึงเรียกน้ำตกป่าหวาย เป็นส่วนหนึ่งของต้นน้ำอุ้มเปี่ยมอยู่ใน ท้องที่ หมู่ 3 ตำบลคีรีราษฎร์ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก ปัจจุบันทางอำเภอพบพระ ได้พัฒนาทางเข้าชมน้ำตกป่าหวาย จากทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1090 ตรงกิโลเมตรที่ 40 เข้าถึงหมู่บ้านป่าหวายเป็นระยะทาง 17 กิโลเมตร และจากหมู่บ้านป่าหวายถึงน้ำตกป่าหวาย อีก 3 กิโลเมตร นับว่าเป็นน้ำตกที่สวยงามและสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์

อุทยานแห่งชาติน้ำตกพาเจริญ


น้ำตกพาเจริญเป็นน้ำตกหินปูนที่สวยงามด้วยชั้นน้ำตกที่ไหลลดหลั่นลงมาเป็นชั้นเล็กชั้นน้อยจำนวนมาก และตั้งอยู่ริมทางหลวง ไม่ไกลจากเมืองแม่สอด จึงเป็นจุดที่นิยมแวะมาท่องเที่ยวและพักผ่อน อยู่ในความดูแลของ อุทยานแห่งชาติน้ำตกพาเจริญ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ใน อำเภอแม่สอด และอำเภอพบพระ จังหวัดตาก ประกอบไปด้วย ป่าที่อุดมสมบูรณ์ พื้นที่เป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อนเป็น แหล่งต้นน้ำลำธาร และยังเป็นต้นกำเนิดของห้วยแม่ละเมา มีเนื้อที่ประมาณ 534,375 ไร่ หรือ 855 ตารางกิโลเมตร

ชื่อของน้ำตก ตั้งตามชื่อของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ซึ่งเป็นผู้พบน้ำตกคนแรกนามว่า สหายพา ต่อมาชาวบ้านเข้ามาอาศัยในพื้นที่บริเวณนี้ จนเกิดเป็นชุมชนที่เจริญขึ้น จึงต่อคำว่าเจริญท้ายชื่อน้ำตก เป็นน้ำตกพาเจริญ นอกจากนี้ยังมีเรียกน้ำตกนี้อีกชื่อหนึ่งว่า น้ำตกร่มเกล้า 97 ชั้น

อุทยานแห่งชาติน้ำตกพาเจริญหมู่ 6 ต.ช่องแคบ อ. พบพระ จ. ตาก 63160โทรศัพท์ : 0 5550 0906

น้ำพุร้อน แม่กาษา



น้ำพุร้อนแม่กาษาและถ้ำแม่อุษา


การเดินทางไปยังน้ำพถร้อนแม่กาษาและถ้ำแม่อุษานั้น ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 105 (แม่สอด-แม่ระมาด) แยกขวาตรงหลักกิโลเมตรที่ 13 ผ่านหมู่บ้านแม่กาษาถึงน้ำพุร้อนและถ้ำแม่อุษา ระยะทางประมาณ 8 กิโลเมตร จำนวน 2 บ่อ มีอุณหภูมิของน้ำสูง ประมาณ 75 องศาเซลเซียส ปัจจุบันมีห้องบริการอาบน้ำแร่และบ่ออาบน้ำ ซึ่งไม่มีกลิ่นฉุนจากก๊าซกำมะถัน บริเวณโดยรอบบ่อน้ำพุร้อนมีป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติและยังมีถ้ำแม่อุษาที่สวยงาม เป็นถ้ำขนาดใหญ่มีห้องโถงถึง 13 ห้องที่มีทางเดินถึงกันได้ทุกห้อง ภายในมีหินงอกหินย้อยรูปแบบต่างๆ แต่ละห้องจะมีความสวยงามแปลกตาไม่เหมือนกัน เช่น ห้องเห็ดหลินจือ เพชรพิมาน กำหล่ำแก้ว ธาราแก้ว เสาเอก กาน้ำเจ้าแม่อุษา เป็นต้น ภายในอากาศโปร่งเย็นสบายไม่อับและเป็นที่อยู่อาศัยของค้างคาวนับล้านตัว ใช้เวลาเดินชมความงดงามภายในถ้ำประมาณ 3 ชั่วโมง นักท่องเที่ยวที่สนใจสามารถติดต่อเจ้าหน้าที่นำทางได้ที่ศูนย์บริการหมายเลขโทรศัพท์ 0 5555 7190, 0 5555 7133

ถ้ำแม่อุษา


ถ้ำนี้ เปิดให้เที่ยวชมเมื่อประมาณ 10 กว่าปีที่ผ่านมา มีการปรับปรุงให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ โดยการสร้างบันไดเดินขึ้นเขา (จากเดิมไม่มีบันได เป็นทางลาดชันคาดว่าในสมัยแรก ๆ คนที่มาเที่ยวคงลำบากทีเดียว)บันไดเดินขึ้นเขายาวประมาณ 500 เมตร มี 870 ขั้น สร้างแล้วเสร็จเมื่อประมาณ 7 ปีที่แล้ว
ถ้ำแม่อุษาอยู่ในตำบลแม่กาษา จัดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เพื่อการท่องเที่ยวที่สนุกสนาน เราควรศึกษาตำนานของถ้ำแม่อุษาไว้ก่อน ประวัติความเป็นมา....ก็มีดังนี้ ในอดีตกาลเมื่อครั้งเกิดสงคราม มีเจ้าเมืองอยู่เมืองหนึ่งแพ้สงคราม จึงต้องพาครอบครัวอพยพหนีข้าศึก เจ้าเมืองมีลูกชาย 6 คน ลูกสาว 1 คน ีชื่อว่า แม่อุษา เนื่องจากแม่อุษาได้ท้องแก่มาก จำเป็นต้องหยุดพักเป็นระยะ ๆ ผนวกกับมีสัมภาระข้าวของเงินทองมากมาย จึงทำให้การเดินทางต้องล่าช้า

เมื่อมาถึงถ้ำแห่งหนึ่งฝ่ายผู้เป็นบิดา เห็นว่า ยังมีข้าศึกไล่ประชิดเข้ามาทุกที เกรงว่าจะหนีไม่รอดกันทั้งหมด ก็เอ่ยปากว่า "ถ้าหอบข้าวของหนีต่อไปก็คงจะไม่ไหว จะมีใครไหมที่จะอาสาเฝ้าถ้ำนี้ตลอดไป " แม่อุษาได้ยินดังนั้นก็คิดว่า ตัวเองนั้นท้องแก่เต็มที่หากตัวเองเดินทางต่อไปก็จะเป็นภาระให้พ่อแม่และพี่ๆ จึงตัดสินใจแล้วบอกผู้เป็นบิดาว่า “ถ้าพ่อเห็นควรอย่างนั้นลูกก็ขออาสา”

เจ้าเมืองจึงใช้มีดดาบฟันคอแม่อุษาจนขาด ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา แม่อุษาจึงคอยระวังรักษาสมบัติต่างๆ อยู่ในถ้ำแห่งนั้น และมีเรื่องเล่าจากผู้เฒ่าผู้แก่ว่า ถ้าหากใครต้องการของสิ่งใดก็สามารถขอยืมออกไปจากถ้ำได้ แต่ต้องนำมาคืน ครั้งแรก ๆ ชาวบ้านหยิบยืมไปก็นำมาคืน แต่พอระยะหลังก็นำมาคืนบ้างไม่คืนบ้าง ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่ได้คืนมากกว่า แม่อุษาก็เลยโกรธจึงปิดปากถ้ำจนไม่สามารถเข้าไปได้ ถ้ำนั้นก็เลยได้ชื่อว่า ถ้ำแม่อุษา มาจนกระทั่งทุกวันนี้

25.10.51

สะพานมิตรภาพไทย-พม่า


ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด เป็นสะพานคอนกรีตข้ามแม่น้ำเมย เชื่อมระหว่างอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก กับจังหวัดเมียวดีของสหภาพพม่า ความยาว 420 เมตร กว้าง 13 เมตร สร้างเชื่อมถนนสายเอเชียจากประเทศไทยสู่สหภาพพม่า ตลอดจนภูมิภาคเอเชียใต้ถึงตะวันออกกลางและยุโรป

นักท่องเที่ยวขาวไทยที่ประสงค์จะข้ามแดนไปยังสหภาพพม่าต้องขออนุญาตทำบัตรผ่านแดนที่ทำการอำเภอแม่สอด หรือที่ศูนย์การค้าแม่เมยซิตี้ โดยนำบัตรประชาชนใช้ประกอบการขออนุญาตได้ตั้งแต่เวลา 08.00 น. - 16.30 น. และเสียค่าธรรมเนียมฝั่งไทย 20 บาท ค่าธรรมเนียมฝั่งพม่า 10 บาท จะต้องเดินทางกลับภายใน 1 วัน ก่อนเวลา 17.00 น.

ระเบียบการผ่านแดนไทย-พม่า อ.แม่สอด
(ฝั่งประเทศไทย)
ชาวไทย
สำเนาบัตรประชาชน 1 ฉบับ เสียค่าบริการ 35 บาท/คน วันหยุดเสียค่าบริการ 45 บาท/คน และกรณีนำรถข้ามไปด้วยรถยนต์คันละ 50 บาท/คัน (ไม่รวมผู้โดยสาร)
ชาวต่างประเทศ
นำหลักฐานเดินทางมาแสดงไม่เสียค่าใช้จ่าย
(ฝั่งประเทศพม่า)
ชาวไทย
นำหลักฐานที่ได้จาก ตม.ไปแสดง เสียค่าใช้จ่าย 10บาท/คนแต่กรณีนำรถข้ามไปคิดรวมคันละ 500-1,200 บาท/คัน (รวมคนโดยสาร)และแล้วแต่ขนาดของรถ)
ชาวต่างประเทศ
นำหลักฐานเดินทางไปแสดง เสียค่าใช้จ่าย 500 บาท/คน

แม่น้ำเมย


แม่น้ำเมย (พม่าเรียกว่า แม่น้ำต่องยิน) เป็นเส้นกั้นเขตแดนประเทศไทยกับสหภาพพม่า มีความยาวประมาณ 327 กิโลเมตร แม่น้ำสายนี้ไหลขึ้นมิได้ไหลลงเช่นแม่น้ำทั่ว ๆ ไป มีต้นน้ำอยู่ที่บ้านมอเกอ ตำบลพบพระ อำเภอพบพระ แล้วไหลผ่านอำเภอแม่ระมาด อำเภอท่าสองยาง ไปถึงจังหวัดแม่ฮ่องสอนแล้วมาบรรจบกับแม่น้ำสาละวินแล้วไหลลงอ่าวมะตะบันในเขตพม่า การเดินทาง จากอำเภอแม่สอดใช้ทางหลวงหมายเลข 105 ไปประมาณ 10 กิโลเมตร สุดเขตแดนไทยถึงแม่น้ำเมย

พระธาตุดอยหินกิ่ว


ตั้งอยุ่ท่บ้านวังตะเคียน หมู่ที่ 5 ต.ท่าสายลวด วัดพระธาตุหินกิ่วดอยดินจี่มีพระธาตุประดิษฐานอยู่ในสถูปเจดีย์ชาวบ้านเรียกว่า "พญาล่อง" ตั้งอยู่บนภูเขา ลักษณะเป็นเจดีย์ทรงมอญขนาดเล็กสร้างไว้บนก้อนหินด้วยแรงศรัทธาในกพระพุทธศาสนา เป็นความมหัศจรรย์จาธรรมชาติลักษณะเป็นก้อนหินขนาดใหญ่ตั้งอยู่บนชะง่อนผากิ่วคอดเหมือนจะขาดออกจากกัน ชาวบ้านเรียกหินมหัศจรรย์นี้ว่า "เจดีย์หินพระอินทร์แขวน" ประวัติความเป็นมาใสการสร้างพระธาตุหินกิ่วดอยดินจี่ที่เล่าสืบต่อกันมาว่า ผู้สร้างเป็นชาวกะเหรี่ยงในสมัยที่อังกฤษปกครองพม่า ชื่อว่า นายพะส่วยจาพอได้มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามากได้นำเงินตราเหรียญรูปีบรรทุกหลังช้างมาเพื่อหาที่สำหรับสร้างเจดีย์ถวายเป็นพุทธบูชา ครั้นมาถึงบริเวณผากินกิ่ว (หรือดินจี่) ได้มองเห็นหินก้อนใหญ่โดชะโงกงำตั้งอยู่บนหน้าผาสูงขัน และมีลักษณะคล้ายกับเจดีย์พระอินทร์แขวนในจังหวัดมัณพเลย์ ประเทศพม่า จึงได้ทำการก่อสร้าง เมื่อสร้างเสร็จแล้วได้นำพระสารีสริกธาตุบรรจุไว้ในองค์เจดีย์ พร้อมกับพระพุทธรูปทองคำจำนวน 5 องค์ พระธาตุหินกิ่วดอยดินจี่ ตั้งอยู่บนชะง่อนผาสูง มองลงมาข้างล่างจะเห็นทิวทัศน์ในเขตประเทศพม่าชัดเจน
หินที่อยู่บนดอยนี้มีลักษณะสีดำหรือสีนำตาลไหม้ จึงเรียกว่า "พระธาตุดอยดินจี่" ซึ่งหมายถึงดินที่ไฟไหม้ ในราวเดือน กุมภพันธ์ ชาวอำเภอแม่สอด และหม่าจะมีงานนมัสการพระธาตุหินกิ่วดอยดินจี่นี้ทุกปี นอกจากนี้บริเวณวัดพระธาตุหินกิ่วดอยดินจี่ยังมีสิ่งสำคัญคือ เรือโบราณพบเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2539 โดยชาวบ้านวังตะเคียน ได้ช่วยกันกู้ขึ้นมาเก็บรักษาไว้ที่เชิงดอยดินกี่ เป็นเรือท่าขุดจากไม้ซุงทั้งต้น ขนาดจองเรือกว้าง 126 เมตรยาว 13.35 เมตร สูง 0.52 เมตร หนา 0.04 เมตร ส่วนหัวเรือและ ท้ายเรือ มีความยาวเท่ากัน (ประมาณ 1.20 เมตร) ภายในเรือมีช่องสำหรับสอดไม้กระดานเพื่อทำเป็นที่นั่ง จำนวน 4 ช่อง มีระยะห่างไม่เท่ากัน จากรูปและขนาดของเรือ สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นเรือที่ใช้ใน การขนส่งอาหารหรือสินค้าระหว่างทั้งสองฝั่งแม่น้ำเมย มีอายุประมาณ 200 ปี

ศาลเจ้าพ่อพะวอ

ศาลเจ้าพ่อพะวอ ตั้งอยู่บนเนินเชิงเขาพะวอ บนถนนสายตาก - แม่สอด บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 62 - 63 ศาลนี้เป็นที่เคารพนับถือของชาวเมืองตากและชาวอำเภอแม่สอดเป็นอย่างมาก

พะ แปลว่า นาย หรือ นาง เป็นคำนำหน้า ส่วน วอ แปลว่า แดง เพราะฉะนั้น ศาลเจ้าพ่อพะวอ แปลได้ว่า ศาลเจ้าพ่อนายแดง นั่นเอง ประวัติความเป็นมาของ “เจ้าพ่อพะวอ” นั้นมีเรื่องเล่ากันมาว่า ท่านเป็นนักรบชาวกะเหรี่ยง สมเด็จพระนเรศวร ทรงแต่งตั้งให้เป็นนายด่านอยู่ที่ด่านแม่ละเมา เพื่อคอยป้องกันข้าศึกมิให้ข้ามภูเขามาได้

เดิมทีศาลเจ้าพ่อพะวอ อยู่อีกด้านหนึ่งของภูเขา แต่เมื่อทางการได้สร้างถนนตัดผ่านจึงได้มาสร้างศาลขึ้นใหม่ มีผู้เล่าว่า ศักดิ์สิทธิ์มาก ถ้าใครไปล่าสัตว์ในบริเวณเขาพะวอแล้วมักจะเกิดเหตุต่าง ๆ เช่น รถเสีย เจ็บป่วย หรือ หลงทาง และเพราะเหตุที่เจ้าพ่อพะวอเป็นนักรบจึงชอบเสียงปืน ผู้ที่เดินทางผ่านนิยมยิงปืนถวายท่านเป็นการแสดงความเคารพ หรือ มิฉะนั้นก็จะจุดประทัด หรือ บีบแตรรถถวาย

ชาวบ้านเล่ากันมาว่า “พอถึงฤดูฝนที่นี่จะได้ยินเสียงอาม๊อก (เสียงปืนใหญ่) เสียงนี้จะดังลั่นสนั่นไปทั่วทั้งเมืองและหุบเขา เชื่อกันว่าเป็นการเตือนจากเจ้าพ่อพะวอว่าเกิดอะไรขึ้น ถ้าเป็นต้นฝนก็หมายความว่า ลงพืชไร่ได้ แต่ถ้าเป็นฤดูแล้งหมายความว่า จะเกิดอาเพศ”

วัดโพธิคุณ (วัดห้วยเตย)





ตั้งอยู่ตำบลแม่ปะ อ.แม่สอด เป็นวัดป่าสายปฏิบัติที่ร่มรื่นด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิด ภายในวัดออกแบบและจัดวางผัง สภาพภูมิทัศน์ตลอดจนสิ่งก่อสร้างที่งดงาม เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยเป็นผลงานการออกแบบและก่อสร้างตกแต่งตลอดจนการปั้นพระพุทธรูป โดยคุณสมประสงค์ชาวนาไร่ ศิลปบัณฑิตจากวิทยาลัยครูอุบลราชธานีและมหาบัณฑิตทางด้านโบราณคดีมหาวิทยลัยศิลปากร ท่านได้อุทิศชีวิตและจิตใจในการก่อสร้างนานกว่า 17 ปี เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาโดยไม่ขอรับค่าตอบแทนใดๆทั้งสิ้น สิ่งก่อสร้างและจุดที่น่าสนใจศึกษาภายในวัดประกอบด้วยโดยเป็นผลงานการออกแบบและก่อสร้างตกแต่งตลอดจนการปั้นพระพุทธรูป โดยคุณสมประสงค์ชาวนาไร่ ศิลปบัณฑิตจากวิทยาลัยครูอุบลราชธานีและมหาบัณฑิตทางด้านโบราณคดีมหาวิทยลัยศิลปากร ท่านได้อุทิศชีวิตและจิตใจในการก่อสร้างนานกว่า 17 ปี เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาโดยไม่ขอรับค่าตอบแทนใดๆทั้งสิ้น ภายในวัดมีพระอุโบสถสร้างแบบสถาปัตยกรรมประยุกต์ มีลักษณะคล้ายเรือลำใหญ่ มี 3 ชั้น ภายในอุโบสถลงรักปิดทองโดยรอบ

ที่พักในแม่สอด


  • ที่พักแม่สอด


  • เซ็นทรัล แม่สอด ฮิลล์ โทร : 0 5553 2601-8 , 0 2541 1234 ต่อ 4444 แฟกซ์ : 0 5553 2600 จำนวนที่พัก 113 ห้อง, ราคา 1,200 - 3,400 บาท


  • วัฒนา วิลเลจ รีสอร์ท โทร : 0 5553 1951 , 0 5553 2305แฟกซ์ : 0 5553 3469 จำนวนที่พัก 10 ห้อง, ราคา 900 - 900 บาท


  • สวนหินเมาเท่นลอด์จ โทร 01-3665882 / 09-5593934


  • บ้านไทย เกสเฮ้าส์ โทร 0 5553 1590, 0 5553 5204, 08 1366 5882 จำนวนที่พัก 15 ห้อง ราคา 300-550 บาท


  • แม่สอด เกสต์เฮาส์ อำเภอแม่สอด จ.ตาก โทร : 0 5553 2745 , 0 1937 4011 จำนวนที่พัก 12 ห้อง, ราคา 150 - 300 บาท


  • ภูอิินน์แม่สอด 055 535119


  • ลดาวัลย์ การ์เด้นท์ โทร : 0 5554 4726 0 5553 1590, 0 5553 5204, 08 1366 5882 20 ห้อง, ราคา 450 - 450 บาท


  • ห้วยหินฝน ฮัท โทร : 0 5553 1772 , 0 1461 3303 จำนวนที่พัก 3 ห้อง, ราคา 500 - 1,200 บาท


  • แม่สอดสแควร์ ดวงกมล โทร : 0 5553 1699 , 05554 2648-9 , 0 5553 1378 จำนวนที่พัก 50 ห้อง, ราคา 350 - 500 บาท


  • แม่สอดการท่องเที่ยว โทร : 0 5553 2818 แฟกซ์ : 0 5553 2818จำนวนที่พัก 4 ห้อง, ราคา 50 - 100 บาท


  • สุวรรณวิทย์ โทร : 0 5553 1162 จำนวนที่พัก 24 ห้อง, ราคา 80 - 150 บาท


  • สรการฤทธิรณ รีสอร์ท โทร : 0 5553 1596 , 0 1211 0438 จำนวนที่พัก 50 ห้อง, ราคา 450 - 450 บาท


  • สยาม โทร : 0 5553 1176 , 0 5553 1376แฟกซ์ : 0 5553 1974 จำนวนที่พัก 85 ห้อง, ราคา 350 - 700 บาท


  • แม่เมย โทร : 0 5553 1214 จำนวนที่พัก 20 ห้อง, ราคา 70 - 170 บาท


  • เฟิสท์ โทร : 0 5553 1233 , 0 5554 6409 , 0 5554 6150 จำนวนที่พัก 32 ห้อง, ราคา 270 - 380 บาท


  • พรเทพ โทร : 0 5553 2590-4 แฟกซ์ : 0 5553 2596จำนวนที่พัก 160 ห้อง, ราคา 700 - 1,500 บาท


  • บ้านธรรมรัตน์ โทร : 0 5553 1827 จำนวนที่พัก 10 ห้อง, ราคา 300 - 300 บาท


  • บ้านชาวดอย โทร : 0 2246 4399 แฟกซ์ : 0 2641 8746จำนวนที่พัก 13 ห้อง, ราคา 900 - 900 บาท


  • ทวีชัยแลนด์ รีสอร์ท โทร : 0 5553 1287 จำนวนที่พัก 24 ห้อง, ราคา 400 - 3,200 บาท


  • ณัฐพลมินิ รีสอร์ท โทร : 0 5553 1553 จำนวนที่พัก 22 ห้อง, ราคา 250 - 900 บาท


  • บ้านรุจิรา โทร. 055544969 จำนวนที่พัก 20 ห้องราคา 350-1000 บาท

  • ปูนนกันต์ โทร:0 5553 4732-3 08 6440 0359 08 1973 6472 08 1324 7745 จำนวนที่พัก : 36 ห้อง , ราคา : 800 - 2500 บาท

  • โกลเด้นฮิลล์รีสอร์ท โทร:0 5553 4520 ,08 1674 4897 , 08 1953 7318 ราคา : 400 - 400 บาท
  • เรือนอุษา รีสอร์ท โทร. 055 554270

ตลาดริมเมย


ตลาดริมเมย เป็นชุมชนบริเวณริมฝั่งแม่น้ำเมยในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ตรงข้ามกับอำเภอเมียวดีของสหภาพพม่า เป็นตลาดค้าขายสินค้าพื้นเมืองมากมายทั้งของไทย และสหภาพพม่า เช่น หน่อไม้แห้ง ปลาแห้ง ปลาหัวยุ่ง เห็ดหอม ถั่ว เครื่องหนัง ผ้าซาติน ฯลฯ นอกจากนี้ยังเป็นตลาดการค้าอัญมณี เช่น หยก ทับทิม และพลอยสีที่มาจากสหภาพพม่า การเดินทาง สามารถขึ้นรถสองแถวจากตลาดอำเภอแม่สอดไปตลาดริมเมยทุกวัน

นักท่องเที่ยวชาวไทยที่ประสงค์จะข้ามไปยังประเทศพม่าต้อง ทำหนังผ่านแดนชั่วคราว โดยนำบัตรประชาชน หรือบัตรประจำตัวอื่นๆ ที่ทางราชการออกให้ พร้อมสำเนา 1 ชุด และรูปถ่ายติดบัตร 2 รูป พร้อมค่าผ่านแดนคนละ 20 บาท ไปที่สำนักงานออกบัตรของอำเภอแม่สอด และเมื่อข้ามผ่านแดนไปแล้วจะต้องเสียค่าผ่านแดนที่ฝั่งพม่าอีกคนละ 10 บาท เวลาผ่านแดน ปกติเปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลา 06.00-18.00 น. ห้ามนำกล้องถ่ายรูปเข้าไปด้วย











เที่ยวแม่สอด


ยินดีต้อนรับ สู่ อ.แม่สอด
อำเภอแม่สอด เป็นอำเภอหนึ่งทางตอนกลางของจังหวัดตาก เป็นอำเภอที่มีการค้าระหว่างประเทศไทยกับพม่ามาก เนื่องจากเป็นอำเภอที่อยู่ติดชายแดน และเป็นที่ตั้งจุดผ่านแดนถาวรด่านพรมแดนแม่สอด เชื่อมโยงเมืองเมียวดี รัฐกะเหรี่ยง ประเทศพม่า อำเภอแม่สอดอยู่ห่างจากอำเภอเมืองตาก 86 กิโลเมตร ได้รับการจัดตั้งเป็นอำเภอมาตั้งแต่ พ.ศ. 2441 ตัวอำเภออยู่ในที่ราบระหว่างภูเขา ส่วนหนึ่งเป็นทิวเขาในฝั่งประเทศไทย อีกส่วนหนึ่งเป็นทิวเขาฝั่งประเทศพม่า อำเภอแม่สอดมีพื้นที่ประมาณ 1,986 ตารางกิโลเมตร ประชากรมีทั้งชาวเขาและคนที่อพยพจากอำเภอเมืองตากเข้าไปตั้งถิ่นฐานอยู่ รวมทั้งชาวพม่าที่มีภรรยาและบุตรเป็นคนไทยด้วย

120 ปี ล่วงมาแแล้ว (ประมาณ พ.ศ. 2404 - 2405) บริเวณที่ตั้งอำเภอแม่สอดในปัจจุบันนี้ได้มีชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงมาตั้งถิ่นฐานทำมาหากินอยู่ เรียกหมู่บ้านนี้ว่า "พะหน่อแก" ต่อมามีคนไทยจากถิ่นอื่นหลายท้องที่ทางภาคเหนือ พากันอพยพลงมาทำมาหากินในบริเวณนี้จำนวนมากทำให้ชาวกะเหรี่ยงเจ้าของถิ่นฐานเดิม ซึ่งไม่ชอบอยู่ปะปนกับใครต้องพากันอพยพไปอยู่ที่อื่น หมู่บ้านแแห่งนี้เจริญขึ้นมาก จนทางราชการได้ย้ายด่านเก็บเงินบ้านแม่ละเมา มาอยู่ ณ ที่หมู่บ้านพะหน่อแกแห่งนี้ จนถึงปี พ.ศ.2441 ทางราชการจึงได้ยกฐานะเป็นอำเภอ เรียกว่า "อำเภอแม่สอด" ให้อยู่ในเขตปกครองของมณฑลนครสวรรค์ ต่อมาเมื่อมีการปรับปรุงแก้ไขระบบบริหารราชการส่วนภูมิภาค อำเภอแม่สอดจึงได้เปลี่ยนมาขึ้นกับจังหวัดตาก

สำหรับความเป็นมาของชื่ออำเภอนั้นสันนิษฐานไว้เป็น 3 นัย ดังนี้ประการแรก กล่าวกันว่า แม่สอดเป็นเมืองเดียวกันกับ "เมืองฉอด" ซึ่งเป็นเมืองหนึ่งในประวัติศาสตร์ ที่ตั้งประชิดชายแดนอาณาจักรสุโขทัย เมืองฉอดมีพ่อเมืองชื่อ พ่อขุนสามชน คำว่า "เมืองฉอด" เรียกกันมานานเข้าอาจจะกลายเป็น "แม่สอด" ก็เป็นได้ประการที่สอง อำเภอแม่สอดอาจได้ชื่อมาจาก ลำห้วยแม่สอดประการที่สาม อำเภอแม่สอดอาจมาจากคำว่า "เหม่ช็อค" ในภาษามอญซึ่งแปลว่า แม่สอด





  • ที่ตั้งและอาณาเขต
    อำเภอแม่สอดมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
    ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอแม่ระมาด
    ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอเมืองตาก
    ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอพบพระ
    ทิศตะวันตก ติดต่อกับรัฐกะเหรี่ยง (ประเทศพม่า)


  • อำเภอแม่สอดแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 10 ตำบล 88 หมู่บ้าน ได้แก่
    1. แม่สอด (Mae Sot) 2. แม่กุ (Mae Ku)
    3. พะวอ (Phawo) 4. แม่ตาว (Mae Tao)
    5. แม่กาษา (Mae Kasa) 6. ท่าสายลวด (Tha Sai Luat)
    7. แม่ปะ (Mae Pa) 8. มหาวัน (Mahawan)
    9. ด่านแม่ละเมา (Dan Mae Lamao) 10. พระธาตุผาแดง (Phra That Pha Daeng)













รหัสไปรษณีย์ 63110



Custom Search